วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Gadget รายชื่อลิงก์ (Link List)

Gadget รายชื่อลิงก์ (Link List) สามารถแสดง URL ของเว็บไซต์ หรือเว็บบล็อก ที่เราจะนำมาแสดง ซึ่งเราอาจจะตั้งหัวข้อได้หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ที่ใช้งานบ่อย เว็บไซต์ที่ชื่นชอบ เว็บไซต์ของเพื่อน จากนั้นก็ใส่ URL ของบล๊อกที่เราจะแสดงลงไปแค่นั้นก็จบแล้วครับ ผลก็จะออกมาเป็นชื่อหัวข้อและรายชื่อลิงก์ที่เราใส่เข้าไปเรียงกันลงมาตามลำดับที่เราตั้งค่าไว้ครับ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้อย่างหลากหลายสุดแล้วแตต่เพื่อนๆครับ เราไปดูการตั้งค่า Gadget รายชื่อลิงก์ (Link List) กันเลยครับ

การตั้งค่า Gadget รายชื่อลิงก์ (Link List)


  1. หัวข้อใหญ่ ชื่อเกี่ยวกับหมวดหมู่ลิงก์ที่เราใส่เข้าไป
  2. จำนวนลิงก์ที่จะให้แสดงกี่รายการ
  3. จัดเรียงตามตัวอักษรหรือไม่ หรือไม่ต้องจัดเรียง
  4. ใส่ URL ของเ็ว็บหรือบล๊อกที่เราต้องการ
  5. ตั้งชื่อแทน URL จะให้ Link แต่ละอันชื่ออะไร
  6. เพิ่มลิงก์
จากนั้นก็บันทึกจะแสดงผลออกมาดังรูปครับ


แล้วมันต่างกันยังไง ระหว่าง Gadget "รายการลิงก์" กับ Gadget "รายการ" ที่ต่างกันก็คือ
"รายการลิงก์" เมื่อผู้้อ่านคลิ๊กที่ลิงก์นั้นแล้วการแสดงผลจะอยู่ในหน้าต่างเดิมแต่เป็นที่อยู่ของ Url ที่เราคลิ๊ก
"รายการ" แตกต่างก็คือ จะถูกส่งไปยังหน้าต่างใหม่

ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget รายการบล๊อก (Blog List)

Gadget รายการบล๊อก (Blog List) เป็นการติดตามดูบล๊อกของผู้อื่น เมื่อเพิ่ม Gadget นี้ จะให้เราใส่ Url ของเว็บที่เราจะติดตาม จากนั้นระบบของ Gadget ก็จะดึงบทความแรกที่บล๊อกนั้นอัพเดท มาลงใสบล๊อกเราอยากสวยงามครับ เช่นผมอยากติดตาม iToeblog ผมก็ใส่ URL ของ iToeBlog นั้นก็คือ itoeblog.blogspot.com จากนั้นก็บันทึก เสร็จแล้วลอง preview ดูก็จะพบ Gadget นี้และมี บทความแรกของ iToeBlog ปรากฏอยู่นั้นเองครับ เรามาดูการตั้งค่าการใช้งานกันครับ

การตั้งคค่า Gadget รายการบล๊อก (Blog List)


  1. ชื่อหัวข้อ
  2. เลือกหัวข้อที่จะอัพเดทลงบล๊อกเรา
  3. ให้แสดงอะไรบ้าง
  4. รายการที่จะให้แสดง
  5. เพิ่มการติดตามบล๊อกอื่นได้อีก
  6. บล๊อกที่เราติดตาม
เสร็จแล้วบันทึก ผลออกมาจะเป็นดังรูปครับ


ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Gadget แบบสำรวจ (Poll)

Gadget แบบสำรวจ (Poll) เป็น Gadget เพื่อแสดงแบบสำรวจจากผู้อ่านบล๊อกของเรา เราสามารถตั้งคำถามและคำตอบไว้ ให้ผู้อ่านได้ลงคะแนนกัน ว่าคำตอบไหนจะได้รับความนิยมที่สุด การตั้งค่าก็ง่ายดายอีกตามเคย Blogger มีแต่เรื่องง่ายจริงๆครับ เรามาดูวิธีการตั้งค่ากันเลย

การตั้งค่า Gadget แบบสำรวจ (Poll)

  1. ตั้งคำถาม
  2. คำตอบที่ 1.
  3. คำตอบที่ 2.
  4. คำตอบที่ 3.
  5. คำตอบที่ 4.
  6. คำตอบที่ 5.
  7. สามารถเพิ่มคำตอบได้อีก
  8. ให้ผู้อ่านเลือกได้หลายคำตอบ
  9. วันที่และเวลาสำหรับปิดการแสดงแบบทดสอบ
เมื่อตั้งค่าและกดบันทึก ผลการแสดงก็จะออกมาในหน้าบล๊อกเราดัังรูปครับ


ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget แถบวีดีโอ (Video Bar)

Gadget แถบวีดีโอ (Video Bar) สามารถ สร้าง List Video ง่ายๆ ในบล๊อกของเราได้ สามารถทำประโยชน์ให้แก่ผู้ที่ชื่นชอบดูวีดีโอซึ่งจะแสดงผลเรียงกันลงมา มีการตั้งค่าที่ง่ายมากๆ เรามาดูวิธีการตั้งค่ากันเลยครับ

การตั้งค่า Gadget แถบวีดีโอ (Video Bar)

  1. ชื่อหัวข้อ
  2. เลือกการดึงวีดีโอ ว่าจะดึงจากวีดีโอที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด และอื่นๆ
  3. สามารถระบุห้องของ Video ได้
  4. ใส่ Keyword ที่จะให้วีดีโอแสดงว่าเกี่ยวกับอะไร
  5. แสดงตัวอย่าง
เสร็จแล้วกดบันทึกจะแสดงวีดีโอในบล๊อกของเราดังรูปครับ
ผู้ที่อยากดูวีดีโอที่เราเลือกมาก็สามารถดูได้ทันทีเลยครับ ง่ายมากๆ
ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget สไลด์โชว์ (Slideshow)

Gadget สไลด์โชว์ (Slideshow) เป็นการแสดงรูปภาพให้เคลื่อนไหว Slide สลับกันไปมา ใครรักความสายความงามของบล๊อกก็ลองนำ Gadger สไลด์โชว์ (Slideshow) ไปใช้งานกันดูครับ สามารถดึงรูปได้ตาม Keyword เช่น "ดวงอาทิตย์" รูปที่ถูกดึงมาแสดงก็จะเปนรูปที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์นั้นเองครับ ส่วนการตั้งค่าก็ง่ายมากๆ เราไปดูกันเลยครับ

วิธีการตั้งค่า Gadget สไลด์โชว์ (Slideshow)

  1. หัวข้อที่สไลด์โชว์
  2. เลือกที่มาของรูปภาพว่าจะให้ดึงข้อมูลมาจากไหน
  3. จะให้ดึงมาโดยใช้ Keyword หรือเลือก อัลบัมขของเรา
  4. ใส่ Keyword ที่ต้องการให้รูปภาพแสดงว่าเกี่ยวกับอะไร
  5. ความเร็วในการสไลด์โชว์
  6. เปิดลิงก์ในหน้าต่างหรอรูปเลือกรูปภาพแบบสุ่ม
  7. ตัวอย่าง
เรามาดูตัวอย่างคร่าวๆกันครับว่าผลของการใช้ Gadget สไลด์โชว์ (Slideshow) จะออกมาเป็นยังไง ดูัดังรูปเลยครับ


รูปมันก็จะสไลด์ไปมาให้ดูครับ

ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget รูปภาพ (Picture)

Gadget รูปภาพ (Picture) เป็นเครื่องมือของ Blogger อย่างนึ้งที่สามารถใส่ภาพของเราและใส่รายละเอียดเกี่ยวกับรูป พร้อมทั้งสามารถส่ง Link รูปภาพไปยัง Url ที่เราต้องการได้แบบง่ายๆเลยครับ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็น Banner ได้ง่ายๆเลยในส่วนของ Gadget รูปภาพ (Picture) ถือว่ามีการตั้งค่าที่ง่าย ประโยชน์หลายหลายเหลือเกินครับ เรามาดูวิธีการตั้งค่าเลยครับ

เมื่อทำการเพิ่ม Gadget รูปภาพ (Picture) แล้วก็จะมาสู่การตั้งค่าดังรูปเลยครับ

  1. ชื่อหัวข้อ
  2. คำอธิบายรูปภาพหรือข้อความอื่นๆ
  3. Url ที่ส่งไปเมื่อมีคนคลิ๊กที่รูปภาพครับ อาจจะเป็นชื่อเว็บหรือชื่อบล๊อกก็ได้
  4. รูปภาพที่แสดง สามารถอัพโหลดได้จากเครื่องของคุณได้เลย
เรามาดูตัวอย่างการใช้งานคร่าวๆไดดังรูปครับ


แค่นี้เราก็ได้ Banner แบบเนียนๆมาใช้ในบล๊อกของเราแล้วครับ จากการใช้ Gadget รูปภาพ (Picture) นี้เอง
ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget ข้อความ (Text)

ในส่วน Gadget ข้อความ (Text) เราสามารถใส่ข้อความเป็นตัวอักษรและเป็นลิงก์ได้้ครับ เราไปดูการตั้งค่า Gadget ข้อความ (Text) กันเลยครับ

เมื่อทำการเพิ่ม Gadget ตัวนี้จะแสดงการตั้งค่าดังรูปภาพครับ

  1. ชื่อหัวข้อ
  2. ตัวหนา
  3. ตัวเอียง
  4. สีของตัวอีกษร
  5. ใส่ Link ให้กับข้อความ
  6. ทำข้อความให้เป็นจุดสนใจ
  7. ส่วนของแก้ไข Html
  8. ช่องเขียนข้อความ
สังเกตุดูจะเหมือน การสร้างบทความ เกือบๆทุกประการเลยครับ เมื่อเขียนเสร็จก็บันทึก Gadget ก็จะแสดงเรียบร้อยครับดังรูปตัวอย่าง


ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget HTML/JavaScript

เป็น Gadget สำหรับผู้ที่เขียน Scrip เป็นเช่น การแสดง Banner การแสดง Video และอื่นๆอีกมากมาย Gadget ทั้งหมดที่ Blogger ใช้เป็นเครื่องมือก็คือ Scrip นั้นเองครับ ซึ่งเป็นการเขียนให้แสดงผลแต่ละรูปแบบ ออกมาเป็น Gadget ให้เราใช้กัน ในที่นี้ใช้ในการเขียน Scrip อื่นๆ เพื่อแสดงผลตามใจเรา ในส่วนที่ Blogger ไม่มี Gadget ให้ ใครมีความรู้ก็สามารถเขียนขึ้นมาแล้วนำมาใช้้งานได้เลยครับ เรามาดูการตั้งค่าให้กับ Gadget นี้กันครับ

เข้าไปเพิ่ม Gadget ในเมนู องค์ปรระกอบของหน้า จากนั้นกดเพิ่ม Gadget ในส่วนที่ต้องการให้แสดงผล กดเพิ่ม Gadget HTML/JavaScript จจะแสดงผลให้เราตั้งค่าดังรูปเลยครับ

  1. คือชื่อหัวข้อของ Scrip เราครับ ว่าชื่ออะไร เช่น Video เราก็ใช้ Video ถ้าไม่อยากให้มีชื่อก็ไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ
  2. เป็นโค้ดรูปแบบของ Html หรือ JavaScrip ที่เราสร้างขึ้นมา สามารถใส่ลงไปในนี้ได้เลยครับ
จากนั้นกด "บันทึก" Scrip ที่เราสร้างขึ้นมาก็จะถูกแสดงในหน้าบล๊อกของเราครับ อย่างตัวอย่างในรูปเป็นการสร้าง Video


จะถูกแสดงตามรูปที่ 1 ก็คือ Video ให้คนที่เข้าบล๊อกของเราดูกันครับ

การนำ Video จาก YouTube มาลงในบล๊อกของเรา มีวิธีง่ายๆครับดังนี้ครับ ให้เราเข้าไปที่ Youtube.com จากนั้นเลือก Video ที่เราจะนำมาแสดง แล้วสังเกตุกรอบสีแดงในรูปครับ


จะเป็นส่วนที่มีชื่อว่า Embed ซึ่งจะเป็นรูปแบบโค้ด ให้เรา Copy นำมาใส่ในการตั้งค่า Gadget HTML/JavaScrip ได้เลยครับ วีดีโอใน YouTube ก็จะมาโผ่ลหน้าบล๊อกของเราครับ ง่ายม๊ากๆ

ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget ผู้ติดตาม (Followers)

เป็นเครื่องมือของ Blogger ที่สามารถให้ผู้ติดตามบล๊อกของคุณแสดงรายการของผู้ใช้ เมื่อมีคนอ่านบล๊อกเราเห็นรูปของผู้ติดตาม ที่อยู่ใน Gadget ถ้าสนใจก็จะคลิ๊กติดตามคนนั้นไป เป็น Socail Network (สังคมออนไลน์) ชนิดหนึง การใช้งานและตั้งค่าก็มีดังนี้ครับ

กดที่ เพิ่ม Gadget ในหน้าองค์ประกอบของหน้า จากนันเลือก Gadget ผู้ติดตาม (Followers) จะแสดงดังรูปครับ

  1. ชื่อเรื่องหรือชื่อหัวข้อ
  2. สีีของข้อความ Endcap
  3. สีของลิงก์ Endcap
  4. สีของเนื้อหาข้อความ
  5. สีของข้อความรองลงมาจากเนื้อหา
  6. สีของลิงก์ในเนื้อหา
  7. สีของลิงก์ระดับรองลงมาของเนื้อหา
  8. สีของหัวเรื่องของแต่ละเนื้อหา หรือ Tilte Colors
  9. สีของเส้นขอบ
  10. ย้อนกลับไปดู Gadget อื่นๆ
  11. ยกเลิกทั้งหมด
  12. บันทึก เมื่อคลิ๊กแล้วจะถูกแสดงในหน้าบล๊อกเราในตำแหน่งที่เราใส่ Gadget นี้ไว้ในหน้าของการตั้งค่า องค์ประกอบของหน้า
ดูตัวอย่างการแสดงผลของ Gadget ผู้ติดตาม (Followers) ดังรูปครับ

ถ้าเพื่อนอยากใช้งานก็สามารถเพิ่มลงไปได้ตามสบายเลยครับเพิ่มสีสันของบล๊อกได้สวยงาม

ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget

Gadget ต่างๆ ใน Blogger

Gadget คือเครื่องมือต่างๆ ที่ Blogger ได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มลงไปในบล๊อก เป็นเครื่องมือสำเร็จรูปใช้การง่าย สะดวกรวดเร็ว อย่างเช่นการทำ Link เพื่อมาใช้เป็นเมนู เราก็สามารถเพิ่ม Gadget ที่ชื่อว่า "รายชื่อลิงก์ (Link List)" และสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งในหน้า องค์ประกอบของหน้า ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก เพื่อเพื่อนๆรู้จักคุณสมบัติต่างๆ ของ Gadget แต่ละตัวแล้ว จะสามารถสร้างบล๊อกที่โดนใจผู้อ่านได้อย่างไม่น่าเชื่อ ในเนื้อหานี้ เพื่อนๆ จะทราบว่า Gadget แต่ละตัวคืออะไร มีการตั้งค่าและใชช้งานยังไง เราไปดูกันเลยครับว่ามีอะไรบ้าง

เพื่อนๆสามารถคลิ๊กที่ "อ่าน...การตั้งค่าการใช้งาน" จะส่งเพื่อนๆไปยังรายละเอียดเกี่ยวกับ Gadget ตัวนั้นครับ


ผู้ติดตาม (Followers) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



HTML/JavaScript อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



ข้อความ (Text) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



รูปภาพ (Picture) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



สไลด์โชว์ (Slideshow) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



แถบวีดีโอ (Video Bar) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



แบบสำรวจ (Poll) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



รายการบล๊อก (Blog List) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



รายชื่อลิงก์ (Link List) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



รายการ (List) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



ฟีด (Feed) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



Newsreel อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



ป้ายกำกับ (Labels) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



ลิงก์การสมัคร (Subscription Links) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



โลโก้ (Logo) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



โปรไฟล์ (Profile) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



คลังบทความของบล๊อก (Blog Archive) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน



ส่วนหัวของหน้า (Page Header) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน


หลักๆของ Gadget ที่ Blogger สร้างเป็นครื่องมือให้ใช้งานกันก็มีเท่านี้ครับ แต่ในอนาคต Blogger ต้องส่งเครื่องมือดีๆมาอีก ไม่นานเกินรอนะครับ เมื่อเพื่อนๆ รู้รายละเอียดเกี่ยวกับ Gadget ต่างๆแล้ว ก็ลงมือวางแผนบล๊อกของเพื่อนๆได้เลยครับ

เนือหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของหน้า (Page Elements)

องค์ประกอบของหน้า สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งของแต่ละเมนู (Gadget) ตามความต้องการของผู้ใช้งาน แค่เลื่อนไปเลื่อนมา อยากให้อยู่ตรงไหนก็ลากไปอยู่ตรงส่วนนั้น เป็นเหมือนลูกเล่นแบบหนึ่งในการควบคุม อยากเพิ่ม Gadget ตัวไหนก็เพิ่มไปในตำแหน่งนั้น พื้นฐานที่เราต้องรู้มีดังต่อไปนี้ครับ

ดูดังรูปภาพประกอบนะครับ เพื่อความเข้าใจ


1. ส่วนหัวของหน้า (Page Header)
ใสส่วนนี้ถูกปรับตำแหน่งให้อยู่ด้านบนสุดของบล๊อก (Page Header) ไม่สามารถปรับหรือเลื่อนตำแหน่งได้ แต่สามารถปรับเปลี่ยนชื่อบล๊อกหรือรายละเอียดบล๊อกเราได้ในส่วนนี้ครับ

2. ส่วนของบทความ (Post)
ในส่วนนี้ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆถูกกำหนดไว้แล้ว เป็นส่วนที่แสดงเนื้อหาของแต่ละบทความที่เราสร้างและเผยแพร่เข้ามา ถ้าเราไปปรับเปลี่ยนมัน จะทำให้หน้าบล๊อกของเราเปลี่ยนไปอย่างมากครับ ทำให้ดูไม่รู้เรื่อง

สังเกตุด้านบนและด้านล่างของส่วนนี้ สามารถที่จะเพิ่ม Gadget เข้าไปได้อีกด้วยครับ ใส่ด้านบนก็จะแสดง Gadget ตัวนั้นที่ด้านบน ใส่ด้านล่างก็จะแสดงไว้ด้านล่างครับ

3. ส่วนของด้านข้าง (Sidebar)
ในส่วนของ Sider เป็นพื้นที่สำหรับเพิ่ม Gadget โดยเฉพาะ เช่น หมวดหมู่, คลังบทความ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถคลิ๊กตามดูเนื้อหาของบล๊อกเราได้ลองนึกภาพดูครับ สมมุติว่าเป็นเว็บๆหนึง ด้านบนเป็นส่วนหัว ตรงกลางเป็นเนื้อหา ด้านข้างเป็นเมนูต่างๆภายในเว็บ ด้านล่างเป็นอื่นๆ เช่น Support, เกี่ยวกับเรา, อะไรประมาณนี้ ลองนึกภาพให้ออกแล้วจะเข้าใจง่ายครับ Sidebar จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือด้านซ้ายและด้านขวา แต่ Template (แม่แบบ) ที่ตัวอย่างใช้เป็น Template รูปแบบ 2 Columns ซึ่งไม่มีด้านซ้าย (จะอธิบาย รูปแบบของ Column Template ทีหลังครับ)

4. ส่วนล่างบทความ
ทุก Template จะถูกกำหนดให้สามารถเพิ่ม Gadget ได้ด้านล่างของบทความสามารถเพิ่ม Gadget เข้าไปได้เลยครับ ไม่อั้น!

5. ส่วนล่างสุดของบล๊อก
ตรงส่วนนี้แล้วแต่การออกแบบของแต่ละ Template ที่เราใช้ ว่าจะให้เราสามารถเพิ่ม gadget เข้าไปได้หรือไม่ ถ้าได้จะมีช่องเพิ่ม Gadget ให้เราได้ยัด Gadget ลงไปดังรูปครับ

เมื่อทำความเข้าใจแล้ว เพื่อนๆ ก็ไปเพิ่ม Gadget ได้ตามใจเพื่อนเลยครับ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ความสะดวกสบาย ง่ายต่อการอ่าน ดูสะอาดตา และผู้อ่านรู้สึกดี เราลองให้เพื่อนเราดูบล๊อกของเราดู็ก็ได้ครับ ว่าเพื่อนใช้เวลากี่นาที ในการทำความเข้าใจว่า "บล๊อกเราเกี่ยวกับอะไร" ถ้าดูแล้วรู้เลยว่าเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเบื้องต้นมีอะไรบ้าง ก็เป็นอันใช้ได้ครับ

เพื่อนสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Gadget แต่ละตัวได้ว่าทำงานยังได้ที่ หน้ารวม Gadget

หน้า การตั้งค่ารูปแบบ

ตั้งค่ารูปแบบ (Layout Setting)

การตั้งค่ารูปแบบ เปรียบเหมือนการเปลี่ยนแปลงของหน้าบล๊อกเราที่จะแสดงต่อสายตาคนทั่วโลก การจัดวาวงรูปแบบเนื้อหาข้อมูลของบล๊อกเป็นส่วนสำคัญไม่น้อยที่จะทำให้ผู้คนเข้ามาแล้วติดใจ หน้าบล๊อกดูสะอาดตา มีเมนูการใช้งานต่างๆ ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อนๆคงไม่อยากอ่านบทความต่างๆของบล๊อกที่รก หาอะไรก็ไม่เจอ ดูวุ่นวายไปหมด ในส่วนนี้ Blogger จัดไว้ให้สามารถปรับแต่งได้ง่ายดายมากครับ ไม่ต้องไปเขียนโค้ด Html, php ก็สามารถสร้างบล๊อกหน้าตาเหมือน บี้เดอะสตาร์ หรือ พอลล่า ได้อย่างง่ายดาย เรามาดูการตั้งค่ารูปแบบเลยครับว่ามีอะไรบ้าง
ในส่วนของตั้งค่ารูปแบบ จะอยู่ในเมนู "รูปแบบ" ประกอบด้วยเมนูย่อย 4 อย่างดังรูป


เมนูต่างๆ ในเมนู "รูปแบบ"
หายังไม่เข้าใจเรื่องที่ผ่านมาเกี่ยวกับการตั้งค่าเบื่องต้น สามารถกลับไปอ่านได้ครับ อ่านเรื่อง การตั้งค่า (Setting)
เพื่อนๆ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Gadget แต่ละตัว ว่ามีหน้าที่ยีงไงได้ที่ หน้ารวม Gadget

ทดสอบบล๊อกสอนรูปแบบ

ทดสอบการจัดการรูปแบบการสดงผลของบล๊อก

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

OpenID และ สิทธิ์ (Permissions)

OpenID ในส่วนนี้บ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าของ ID บล๊อกนี้ชื่ออะไร URL ที่แสดงเป็นอะไรไม่จำเป็นต้องไปยุ่งอะไรในส่วนนี้ครับ
สิทธิ์ (Permissions) ในส่วนนี้สามารถเพิ่มผู้เขียนและผู้อ่านบล๊อกของเราหรือสมาชิกได้ครับประกอบไปด้วย

  • ผู้เขียนบล็อก (Blog Authors)
    เพิ่มผู้เขียนบล๊อก ผู้ที่ได้รับสิทธิจะสามารถเขียนบทความเผยแพร่ได้อย่างเดียว ไม่สามารถใช้เมนูอื่นๆได้

  • ผู้อ่านบล็อก (Blog Readers)
    เป็นระบบสามาชิกของ Blogger ให้ผู้อ่านได้สมัครสมาชิกได้ สามารถส่งเชิญคนที่ต้องการสมัครครับ

หน้า การตั้งค่า (Setting)

อีเมลและมือถือ (Email & Mobile)

ในส่วนนี้เป็นบริการของ Blogger ใช้สำหรับส่งบทความของเราทาง E-mail และมือถือให้ตาม E-mail และเบอร์โทรศพท์ครับ เราสามารถใส่ E-mail และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการรับข้อมูลบล๊อกเราได้เลย ในส่วนของการตั้งค่านั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง เราลองไปดูกันได้เลยครับ

  • ที่อยู่ BlogSend (BlogSend Address)
    ในส่วนนี้สามารถ add Email ของผู้สนใจติดตามเรื่องราวต่างๆของบล๊อกเราผ่าน E-mail ได้เลยครับ

  • ที่อยู่สำหรับการส่งบทความผ่านอีเมล (Email Posting Address)
    เป็นชื่อ Sub Email ของเราอีกทีที่ใช้กับ Blogger ครับ

  • อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices)
    สามารถเพิ่มเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่สนใจได้

หน้า การตั้งค่า (Setting)

ฟีดของไซต์ (Site Feed)

ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าของ Feed (รับข่าวสารผ่าน Rss) ซึ่งเราต้องสมัครใช้กับผู้ให้บริการ Feed เช่น www.feedburner.com ซึ่งเป็นบริษัทของ Google ที่ทำการเซ้งกิจการมา แล้วทางผู้ให้บริการก็จะให้ Url ของ Feed เรามาครับ ประโยชน์ของมันก็คือผู้อ่านสามารถรับข่าวสารต่างๆของบล๊อกเราได้เมื่อเราสร้างบทความใหม่ๆขึ้นมา เรามาดูการตั้งค่าของฟีดกับเลยครับ

  • อนุญาตให้ใช้ฟีดของบล็อก (Allow Blog Feeds)
    เลือก แบบเต็ม เพื่อจัดส่งเนื้อหาของบทความแบบเต็ม เลือก แบบสั้น ถ้าคุณต้องการจัดส่งเนื้อหาเฉพาะย่อหน้าแรก หรือประมาณ 255 ตัวอักษร ขึ้นอยู่กับว่าข้อใดสั้นกว่า การตั้งค่านี้จะใช้กับฟีดแต่ละประเภท (บทความ ความคิดเห็น และฟีดของความคิดเห็นต่อบทความ)

  • URL การเปลี่ยนเส้นทางฟีดข้อมูลของบทความ (Post Feed Redirect URL)
    ชื่อ Url ที่ทางผู้ให้บริการให่เรามาเมื่อเราสมัครใช้บริการแล้ว ให้นำมาใส่ที่นี้เลยครับ

  • ส่วนท้ายฟีดของบทความ (Post Feed Footer)
    การเขียนข้อความส่งท้าย Feed ของเราครับ
หน้า การตั้งค่า (Setting)

เก็บเข้าคลังบทความ (Archiving Setting)

ส่วนนี้เป็นการตั้งค่าการเก็บบทความของบล๊อกเราครับ ซึ่งจะแสดงในหน้าบล๊อกของเรา มีการปรับตั้งค่าที่ง่ายเอามากๆ ผมชอบจริงๆเลย Blogger เนียอะไรก็ง่ายไปหมด ใช้เวลาศึกษาแค่แป๊ปเดียวเท่านั้นเองเพื่อนๆก็สามารถสร้างบล๊อกได้อย่างมืออาชีพแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าในส่วนของ "เก็บเข้าคลังบทความ (Archiving Setting)" มีอะไรบ้าง

ความถี่ของการเก็บเข้าคลังบทความ สามารถเลือกเก็บบทความของเราซึ่่งจะแสดงในหน้าบล๊อกของเรา จะให้แสดงเป็นรายเดือน รายวัน รายสัปดาห์ก็ได้ทั้งนั้น สุดแล้วแต่เพื่อนๆจจะชอบเก็บยังไง ส่วน เปิดใช้หน้าบทความหรือไม่ ถูกตั้งค่าไว้ว่า "ใช้" อยู่แล้ว ไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนอะไรให้มากมายเดิมๆแหละดีที่สุดแล้วสำหรับ Blogger อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบหรือถนัดของเพื่อนๆ ว่าจะวางโครงสร้างยังไง

หน้า การตั้งค่า (Setting)

ข้อคิดเห็น (Comments Setting)

ใส่ส่วนของการตั้งค่าข้อคิดเห็น เป็นการตั้งค่าการใช้งานที่เรียกว่่า Comment ที่สามารถให้ผู้อ่านร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องราวที่ผู้อ่านสนใจ ในการตั้งค่านี้จะเป็นการตั้งค่าสิทธิการแสดงความคิดเห็นและส่วนอื่นๆ เราไปดูกันครับว่ามาอะไรบ้างในส่วนของการตั้งค่าข้อคิดเห็น

  • ข้อคิดเห็น (Comments)
    โชว์ข้อความที่ผู้อ่านร่วมแสดงความคิดเห็นในบล๊อกคุณ

  • ใครสามารถแสดงความคิดเห็น (Who Can Comment?)
    แบ่งออกเป็น 4 ประเภทที่จะสามารถใช้งานระบบแสดงความคิดเห็นได้คือ
    1. ทุกคน - รวมถึงผู้ใช้ที่ไม่ระบุชื่อ
    2. ผู้ใช้ที่จดทะเบียน - รวม OpenID
    3. ผู้ใช้ที่มีบัญชี Google
    4. เฉพาะสมาชิกของบล็อกนี้

  • การจัดวางฟอร์มความคิดเห็น (Comment Form Placement)
    เป็นการแสดงกรอบการแสดงความคิดเห็นว่าจะแสดงตรงไหน

  • ความคิดเห็นเริ่มต้นสำหรับบทความ (Comments Default for Posts)
    ตั้งค่าว่าให้บทความมีการแสดงความคิดเห็น

  • ลิงก์ย้อนกลับ (Backlinks)
    ให้ผู้เขียนแสดง Link ย้อนกลับ หรือ Link บล๊อกของผู้แสดงความคิดเห็นได้

  • ค่าเริ่มต้นของลิงก์ย้อนกลับสำหรับบทความ (Backlinks Default for Posts)
    การตั้งค่าว่าจะให้บทความไหนแสดง Link ย้อนกลับ

  • รูปแบบเวลาในส่วนความคิดเห็น (Comments Timestamp Format)
    รูปแบบเวลาในกรอบแสดงความคิดเห็น

  • ข้อความของฟอร์มความคิดเห็น (Comment Form Message)
    สร้างข้อความร่างไว้สำหรับแสดงความคิดเห็น ในกรณีที่ต้องใช้หลายๆครั้ง เพื่อความสะดวก

  • การจัดการความคิดเห็น (Comment moderation)
    ตรวจสอบความคิดเห็นก่อนที่จะเผยแพร่ เมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นระบบจะให้เราตรวจสอบก่อนแสดงผลในบล๊อกเรา

  • แสดงการตรวจสอบคำสำหรับความคิดเห็นหรือไม่ (Show word verification for comments?)
    การทำงานนี้จะกำหนดให้คนที่แสดงความคิดเห็นในบล็อกของคุณป้อนการยืนยันคำ ซึ่งจะช่วยลดสแปมความคิดเห็น

  • แสดงรูปภาพโปรไฟล์บนความคิดเห็นหรือไม่ (Show profile images on comments?)
    ให้ผู้แสดงความคิดเห็นสามารถแสดงรูปภาพของตนเองได้

  • อีเมลสำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีความคิดเห็นใหม่ (Comment Notification Email)
    แจ้งเตือนทาง E-mail เมื่อมีความคิดเห็นใหม่ ให้ใส่ชื่อ E-mail ที่ต้องการรับลงไปได้เลยครับ
หน้า การตั้งค่า (Setting)

การจัดรูปแบบ (Formatting Setting)

การจัดรูปแบบ (Formatting Setting) ของบล๊อก เช่นการแสดงบทความในหน้าหลักกี่บทความ รูปแบบส่วนหัวของวันที่ รูปแบบเวลา ภาษา สามารถปรับตั้งค่าได้ที่การจัดรูปแบบเลยครับ เรามาดูการตั้งค่าต่างๆที่มีใน เมนูการจัดรูปแบบอย่าละเอียดกันครับ ว่ามาอะไรบ้าง

  • แสดง (Show)
    การแสดงบทความในหน้าแรกของบล๊อกเราครับว่าจะให้มีกี่บทความ และสามารถเลือกเป็นวันก็ได้ครับ ถ้าเลือก วัน จะมีการจำกัดจำนวนไม่เกิน 999 บทความ

  • รูปแบบส่วนหัวของวันที่ (Date Header Format)
    รูปแบบการแสดงเวลาเมื่อสร้างบทความ จะอยู่เหนือชื่อเรื่องครับ

  • รูปแบบวันที่ของดัชนีคลังบทความ (Archive Index Date Format)
    รูปแบบการแสดงวันที่ของคลังบทความบล๊อก จะอยู่ในส่วนของ Blog Archive

  • รูปแบบเวลา (Timestamp Format)
    รูปแบบเวลาของบล๊อกเรา

  • โซนเวลา (Time Zone)
    รูปแบบเวลาของแต่ละประเทศครับ ถ้าเนื่อหาบล๊อกคนอ่านเป็นคนไทยก็เลือก (GMT+7.00)กรุงเทพ ถ้าอยู่ต่างประเทศก็ให้เลือกเวลาของประเทศนั้นๆครับ

  • ภาษา (Language)
    ภาษาของบล๊อกเราครับ อยู่ที่เนื่อหาเช่นเดียวกับโซนเวลา ว่าเป็นของประเทศอะไร

  • แปลงการขึ้นบรรทัดใหม่ (Convert line breaks)
    เป็นการตั้งค่าปกติของ Blogger ด้านภาษา Html ครับ การขึ้นบรรทัดใหม่หนึ่งครั้งที่ป้อนในเครื่องมือแก้ไขบทความจะถูกแทนที่ด้วยแท็ก [br] ในบล็อกของคุณ และการขึ้นบรรทัดใหม่สองครั้งก็จะถูกแทนที่ด้วยแท็ก br ให้ตั้งไวเป็นใช่ตลอดครับ

  • แสดงฟิลด์ชื่อเรื่อง (Show Title field)
    เป็นการแสดงฟิลด์ชื่อเรื่องของเราก็คือแสดงชื่อเรื่องนั้นเองครับ

  • แสดงฟิลด์ของลิงก์ (Show Link fields)
    การแสดง Link ให้บทความของเรา

  • เปิดใช้การจัดเรียงแบบลอย (Enable float alignment)
    สามารถจัดเรียงรูปภาพและข้อความแบบลอยได้ โดยใช้แท๊ก div clear:both ให้ตอบใช่ตลอดครับ อย่าไปเปลี่ยนมัน

  • แม่แบบบทความ (Post Template)
    เป็นการร่างบทความไว้ก่อน เวลาจะสร้างบทความจะแสดงแม่แบบในทุกๆครั้งที่สร้าง สามารถเขียนเนื้อหาไว้ก่อนในกรณีที่ใช้เนื้อหาซ้ำกันหลายๆบทความ สามารถเขียนลงในช่องแล้วกดบันทึกได้เลยครับ
หน้า การตั้งค่า (Setting)

การเผยแพร่ (Publishing Setting)

ในส่วนของการตั้งค่า การเผยแพร่ คือการตั้งค่า Url หรือชื่อบล๊อกของเราที่แสดง เช่น www.ชื่อบล๊อก.blogspot.com จะตามหลังด้วย blogspot.com เสมอ เพราะเป็นชื่อ Sub domain ของ Blogger.com เราจะเปลี่ยนได้เฉพาะส่วนของชื่อบล๊อกคือด้านหน้า blogspot.com เท่านั้น หากไม่พอใจ หรือชื่อบล๊อกไม่โดนใจวัยรุ่น ก็สามารถเปลี่ยนได้ืี่ที่ ตั้งค่าการเผยแพร่เลยครับ
แต่สิ่งที่ตามมาคือชื่อบล๊อกเก่าของเราจะใช้ไม่ได้ ทำให้ผู้ที่เคยรู้จักบล๊อกของเราเข้าไม่ได้ เป็นผลเสียอย่างมากทีเดียวเมื่อทำการโปรโมทบล๊อกของเราไปแล้วๆเปลี่ยนชื่อใหม่ ซึ่งเหมือนการไม่มีตัวตนของชื่อเก่า เหมือนกับการย้ายบ้าน

ดังนั้นก่อนที่เราจะตั้งชื่อบล๊อกควรคิดไตร่ตรองให้รอบคลอบก่อนครับ
หน้า การตั้งค่า (Setting)

ขั้นต้น (Basic Setting)

การตั้งค่าขั้นต้นของ Blogger เป็นการตั้งค่าพื้นฐานต่างๆ เช่น Title ของบล๊อก รายละเอียดบล๊อก การอนุญาตุให้เครื่องมือค้นหาสามารถพบบล๊อกของคุณโดยอัตโนมัติ โหมดการเขียนบล๊อก และอื่นๆ เรามาดูการตั้งค่า "ขั้นต้น" อย่างละเอียดกันเลยครับ

เครื่องมือเขียนบล็อก (Blog Tools)
  • การนำเข้าบล๊อก คือการนำเข้าบทความจากบล๊อกอื่่นของเรา
  • การส่งออกบล๊อก คือการนำบทความของบล๊อกเราส่งออกไปบล๊อกอื่น
  • ลบบล๊อก ก็คือการลบบล๊อกของเราทั้งหมดนั้นเอง
หัวข้อ (Title)
เป็นการเปลี่ยนหัวข้อบล๊อกหรือ Title ของบล๊อกเราซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวข้อหลักสำคัญที่่ทำให้รู้ว่าบล๊อกเราเกี่ยวข้องกับอะไร

คำอธิบาย (Description)
คำอธิบายเกี่ยวกับบล๊อกของคุณ เช่น "ชุมชนบล๊อกหาเงินออนไลน์โดยใช้ Blogger" จะแสดงอยู่ด้่านล่างของ หัวข้อ (Title)

เพิ่มบล็อกของคุณในรายการของเราหรือไม่ (Add your blog to our listings?)
เป็นเครื่องมือของ Blogger ช่วยให้บล๊อกของเราแสดงในรายการต่างๆของ Blogger

อนุญาตให้เครื่องมือค้นหาพบบล็อกของคุณหรือไม่ (Let search engines find your blog?)
เป็นการอนุญาติให้ Google Blog Search รับข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาของบล๊อกคุุณและทำการปิงสัญญาณ(บอกให้รู้ว่ามีข้อมูลใหม่) ผ่านทาง Webblog.com

แสดงการแก้ไขอย่างรวดเร็วบนบล็อกของคุณหรือไม่ (Show Quick Editing on your Blog?)
แสดงโหมดการแก้ไขบทความบทบล๊อกอย่างรวดเร็ว

แสดงลิงก์ส่งบทความทางอีเมล (Show Email Post links?)
เครื่องมือของ Blogger ที่สามารถให้ผู้อ่านส่งบทความในบล๊อกเราให้่แก่ผู้อื่นทาง E-mail

แสดงโหมดเขียนบทความสำหรับบล็อกทั้งหมดของคุณหรือไม่ (Adult Content?)
ใช้โหมดการเขียนบทความของบล๊อก เป็นค่าปกติที่ตอบ "ใช่" อยู่แล้วไม่ต้องปรับเปลี่ยน

ใช้การถอดเสียงหรือไม่ (Enable transliteration?)
เพิ่มปุ่มที่แถบเครื่องมือสำหรับการแปลงคำจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เลือก (คุณสามารถเปลี่ยนภาษาได้ภายหลังในเครื่องมือแก้ไขบทความ)
การแก้ไขการถอดเสียงของคุณจะถูกบันทึกไว้ ในส่วนนี้ให้ปิดการใช้งานไว้เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาษาเรา

หน้า การตั้งค่า (Setting)

การตั้งค่า (Blogger Settings)

การปรับค่าการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ของ Blogger สามารถแก้ไขในเมนู "การตั้งค่า " ไม่ว่าจะเป็นชื่อบล๊อก, Url ของบล๊อก, ภาษาของบล๊อก, การจัดการคลังบทความ ซึ่งมีการใช้งานในส่วนต่างๆ ไม่ได้ยากเย็นนัก เรามาดู การตั้งค่า (Settings) ของ Blogger ว่ามีอะไรบ้าง

  1. อ่านต่อ เรื่องขั้นต้น (Basic Setting)
    เป็นการตั้งค่าในส่วนของพื้นฐานเช่น หัวข้อ (title) คำอธิบาย (Description) และอื่นๆ ของ Blogger

  2. อ่านต่อ เรื่องการเผยแพร่ (Publishing Setting)
    การแก้ไข Url หรือชื่อของบล๊อก เช่น www.ชื่อบล๊อก.blogspot.com

  3. อ่านต่อ เรื่องการจัดรูปแบบ (Formatting Setting)
    แก้ไขรูปแบบของบทความ เช่น เวลา ภาษา รูปแบบวันที่

  4. อ่านต่อ เรื่องข้อคิดเห็น(Comments Setting)
    การตั้งค่าจัดการความคิดเห็น (Comment) ของ Blogger

  5. อ่านต่อ เรื่องเก็บเข้าคลังบทความ (Archiving Setting)
    การจัดการคลังบทความและการแสดงผลของบทความในหน้าบล๊อก

  6. อ่านต่อ เรื่องฟีดของไซต์ (Site Feed Setting)
    ตั้งค่าการส่งเนื้อหาแบบ RSS Feed

  7. อ่านต่อ เรื่องอีเมลและมือถือ (Email Mobile Setting)
    การส่งบทความผ่าน E-mail และะมือถือ

  8. อ่านต่อ เรื่องOpenID (Open ID Setting)
    ชื่อบล๊อกของคุณและ ID การใช้งาน

  9. อ่านต่อ เรื่องสิทธิ์ (Permissions Setting)
    สิทธิของผู้ใช้งาน ในส่วนผู้เขียนและผู้อ่าน

เพื่อนๆสามารถคลิ๊กดูรายละเอียดตาม Link หัวข้อได้เลยนะครับ
เมื่ออ่านเรียบร้อยแล้ว ศึกษาต่อเรื่อง การตั้งค่ารูปแบบ (Layout Setting)

การแก้ไขบทความ Blogger (Edit Post)

การแก้ไขบทความของ Blogger มีระบบการใช้งานที่ง่ายมาก อยากจะแก้บทความไหน ก็แก้ในบทความนั้น อยากจะใช้ป้ายกำกับอะไรให้บทความ ก็สร้างป้ายกำกับ และกดตั้งค่าป้ายกำกับ สามารถลบบทความ ลบป้ายกำกับ ดูรายละเอียดการสร้างบทความ เช่น บทความเผยแพร่เวลาเท่าไร ใครเป็นผู้เขียนบทความนั้น เรามาดูเมนูควบคุมต่างๆ ของการแก้ไขบทความกันเลย

  1. การใช้งานป้ายกำกับ เราสามารถ ลบ เพิ่ม และเปลี่ยนป้ายกำกับให้บทความเราได้ โดยการติ๊กช่องหน้าบทความครับ
  2. ช่องค้นหา สามารถค้าหาบทความโดยใส่ Keyword ลงไปครับ
  3. ช่องแก้ไข และ ชื่อบทความหรือหัวข้อใหญ่ของบทความ ในการแก้ไข เพิ่มป้ายกำกับให้บทความ ลบบทความ เราสามารถติ๊กถูกในช่องหน้าแก้ไข จะสามารถแก้ไขได้พร้อมๆกันครับ
  4. ร่างและวางกำหนดการแสดงของบทความ
  5. บทความที่นำเข้ามาจากบล๊อกอื่น
  6. บทความที่เผยแพร่แล้ว
  7. บทความต่อหน้า จะให้หน้านี้แสดงบทความทั้งหมดกี่บทความ
  8. ลบบทความ
  9. ชื่อคนเขียนบทความ
  10. บทความได้เผยแพร่เวลาเท่าไร
  11. รายชื่อป้ายกำกับทั้งหมด ในส่วนของ () คือจำนวนบทความที่อยู่ในป้ายกำกับนั้น
  12. เผยแพร่บทความ (ที่เราติ๊กถูกหน้าบทความ) ใช้สำหรับบทความที่ร่างไว้
  13. ลบรายการที่เลือก (ที่ติ๊กถูกหน้าบทความ)
  14. สร้างบทความใหม่
  15. ชื่อของป้ายกำกับประจำบทความ
ในส่วนต่อไปจะเป็นการรู้จักเมนูต่างๆของการตั้งค่า Blogger อ่านต่อ...เรื่องการตั้งค่า (Blogger Setting)

ทดสอบสร้างบล๊อก

หากต้องการแก้ไขบทความของบล๊อกให้เข้าไปที่ "แก้ไขบทความ"

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การสร้างบทความ (Post)

ส่วนของการสร้างบทความให้เข้าไปที่ "การส่งบทความ" หัวข้อ "สร้าง" ให้เพื่อนๆทำความเข้าใจเมนูและเครื่องมือต่างๆ ของการสร้างบทความใน Blogger เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน

ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างบทความ

การสร้างบทความใช้พื้นฐาน Microsoft word คือเขียนอย่างไรก็จะออกมาอย่างนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
  1. ส่วนของ "เขียน"
    ในส่วนนี้จะเหมือน Microsoft Word เกือบทุกๆอย่าง อยากเขียนอะไร อยากใช้ตัวหนา ตัวเอียง การใส่ Link เพียงแค่คลิ๊กเมนูการใช้งานด้านบน มีข้อเสียคือ เวลา Copy อะไรก็ตามแล้วนำมา Paste ลงในนี้ ลักษณะของของตัวอักษรจะเหมือนกับต้นแบบที่ Copy มาทุกอย่างครับ
  2. ส่วนของ "HTML"
  3. ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร แต่ไม่ได้ยากเท่าไรครับ ข้อดีคือ สามารถปรับตามความต้องการของเราได้ทุกอย่าง เมื่อ Copy อะไรมาวาง ลักษณะตัวอักษรจะถูกปรับเป็นตัวอักษรปกติของบล๊อกเราครับ
ข้อสังเกตุ:
การ Copy อะไรมาวางถ้าไม่อยากให้ลักษณะผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามรูปแบบที่สวยงาม ให้้ Copy แล้วทำมา Paste ในส่วนของ HTML ครับ ข้อความทั้งหมด จะถูกปรับให้การแสดงผลเป็นค่าปกติของบล๊อกเรา ไม่ใช่ตามลักษณะต้นแบบที่เรา Copy มาครับ

เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างบทความ

Blogger มีเครื่องมือต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขียบบทความได้ตามรูปแบบที่ตั้งใจ ดูตามดังรูปเลยครับ

  1. แบบอักษร สามารถเลือกตัวอักษรได้ตามต้องการ
  2. ปรับขนาดตัวอักษร ปรับขนาดความใหญ่หรือเล็กลง
  3. ตัวหนา
  4. ตัวเอียง
  5. สีของตัวอักษร
  6. ทำ Link ให้ข้อความ เราสามารถสร้าง Link ให้ข้อความได้โดยการ คลิ๊กคลอบข้อความที่เราต้องการแล้วกดที่เมนูนี้ ระบบจะให้ทำการใส่ URL (ที่อยู่ของ Link เช่น www.snook.com) เมื่อคลิ๊กที่ข้อความจะถูกส่งไปยังหน้าเว็บที่เราใส่ Link เข้าไป
  7. ทำบทความให้ชิดซ้าย
  8. ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
  9. ทำบทความให้ชิดขวา
  10. ทำบทความให้ชิดทั้งขอบซ้ายและขวา
  11. ทำรายการเรียงลำดับเป็นตตัวเลข
  12. ทำรายการเรีนงลำดับเป็นจุด
  13. ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
  14. เพิ่มรูปภาพลงในบทความของเรา ระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้
  15. เพิ่ม Video เข้าไปในบทความของเราเช่นเดียวกับรูปภาพครับ
  16. ส่วนนี้เป็นการลบข้อความที่เราเขียนผิดพลาด ในส่วนนี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร หรือไม่ได้ใช้เลยก็ได้
  17. แก้ไข HTML ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร
  18. หน้าที่ใช้เขียนบทความเหมือนการใช้งาน Microsoft Word
  19. แสดงตัวอย่างที่เราเขียนบทความ
  20. การใส่หัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง "การตกแต่งบ้างโดยใช้ต้นไม้ประดับ" หัวข้อก็คือ การตกแต่งบ้าน (บ่งบอกให้รู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร)
  21. ทำการเผยแพร่บทความทันที บทความจะแสดงหน้าบล๊อกของเราทันที่ที่เราเผยแพร่
  22. บันทึก เป็นการบันทึกบทความไว้ก่อน จะยังไม่แสดงในหน้าบล๊อกของเรา เหมือนการร่างบทความ เราสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนทีหลังได้ใน "การแก้ไขบทความ"
การเขียนบทความที่ดี
  • เขียนสั้นๆได้ใจความ
  • อย่าทำให้ผู้อ่านลายตา
  • ใช้ประโยคเป็นกันเอง เหมือนเล่าเรื่อง (แล้วแต่เนื้อหาบทความ)
  • ชื่อเรื่องน่าอ่าน
  • มีสไตล์เป็นของตัวเอง
  • ทบทวนเรื่องราว เช่นเขียนดูไหม อ่านแล้วเป็นยังไง สะกดผิด เขียนผิดหรือปล่าว
ส่วนต่อไปเป็นส่วนของการแก้ไขบทความ อ่านต่อ...เรื่องการแก้ไขบทความ